ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา พลวง, ตองตึง
พลวง, ตองตึง
Dipterocarpus tuberculatus Roxb.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Dipterocarpaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Dipterocarpus tuberculatus Roxb.
 
  ชื่อไทย พลวง, ตองตึง
 
  ชื่อท้องถิ่น - ตะทอเหมาะ(กะเหรี่ยงแดง), ไฮ่ไม้ดึง(ปะหล่อง) - ยางพลวง, พลวง (กลาง); กุง (อุบลราชธานี, อุดรธานี, ปราจีนบุรี); เกาะสะแต้ว, สะเติ่ง (ละว้า – เชียงใหม่); คลง (เขมร – บุรีรัมย์); คลอง (เขมร); ควง (พิษณุโลก, สุโขทัย)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ไม้ต้น, ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่, สูง 20 – 30 ม., ผลัดใบ, ลำต้นเปลาตรง, กิ่งอ่อนมีรอยแผล, ใบเห็นชัด; เปลือกหนาสีน้ำตาลปนเทาอ่อน, แตกเป็นร่องลึกไปตามยาวลำต้น; เรือนยอดเป็นพุ่มกลม, กิ่งแขนงมักคดงอ, เนื้อไม้สีน้ำตาลแกมแดง.
ใบ รูปไข่, กว้าง 15 – 28 ซม., ยาว 15 – 40 ซม., เนื้อใบหนา, เกลี้ยงหรือมีขนกระจายห่าง ๆ ; โคนใบหยักเว้าเป็นรูปหัวใจ; ขอบใบจักเป็นคลื่น; ปลายใบสอบ; เส้นแขนงใบมี 10 – 15 คู่; ก้านใบยาว 3 – 10 ซม., ใบอ่อนสีน้ำตาบแกมแดง, กาบหุ้มยอดอ่อนมีขนสั้น ๆ, สีเทา.
ดอก สีม่วงแดง, ออกเป็นช่อเดี่ยว, ตามง่ามใบตอนปลายกิ่ง; ด้านนอกของกาบหุ้มช่อดอกอ่อน, มีขนยาวหนาแน่น, โคนกลีบรองกลีบดอกติดกันเป็นรูปกรวย, มีสันเตี้ย ๆ 5 สันตามยาว, ปลายแยกเป็น 5 แฉก, ยาว 2 แฉก, สั้น 3 แฉก; กลีบดอกมี 5 กลีบ, โคนกลีบประสานเหลื่อมกัน, ปลายบิดเวียนตามกันเหมือนกังหัน; เกสรผู้ 30 อัน.
ผล รูปกรวย, ส่วนที่ติดกับปีกพองโตและเป็นพู 5 พู, แล้วค่อย ๆ สอบเรียวไปสู่ขั้ว, มีปีกยาว 2 ปีก, สั้น 3 ปีก, ปีกยาวกว้าง 2.5 – 3.5 ซม., ยาว 10 – 15 ซม., เส้นปีกตามยาวมี 3 เส้น. [6]
 
  ใบ ใบ รูปไข่, กว้าง 15 – 28 ซม., ยาว 15 – 40 ซม., เนื้อใบหนา, เกลี้ยงหรือมีขนกระจายห่าง ๆ ; โคนใบหยักเว้าเป็นรูปหัวใจ; ขอบใบจักเป็นคลื่น; ปลายใบสอบ; เส้นแขนงใบมี 10 – 15 คู่; ก้านใบยาว 3 – 10 ซม., ใบอ่อนสีน้ำตาบแกมแดง, กาบหุ้มยอดอ่อนมีขนสั้น ๆ, สีเทา.
 
  ดอก ดอก สีม่วงแดง, ออกเป็นช่อเดี่ยว, ตามง่ามใบตอนปลายกิ่ง; ด้านนอกของกาบหุ้มช่อดอกอ่อน, มีขนยาวหนาแน่น, โคนกลีบรองกลีบดอกติดกันเป็นรูปกรวย, มีสันเตี้ย ๆ 5 สันตามยาว, ปลายแยกเป็น 5 แฉก, ยาว 2 แฉก, สั้น 3 แฉก; กลีบดอกมี 5 กลีบ, โคนกลีบประสานเหลื่อมกัน, ปลายบิดเวียนตามกันเหมือนกังหัน; เกสรผู้ 30 อัน.
 
  ผล ผล รูปกรวย, ส่วนที่ติดกับปีกพองโตและเป็นพู 5 พู, แล้วค่อย ๆ สอบเรียวไปสู่ขั้ว, มีปีกยาว 2 ปีก, สั้น 3 ปีก, ปีกยาวกว้าง 2.5 – 3.5 ซม., ยาว 10 – 15 ซม., เส้นปีกตามยาวมี 3 เส้น. [6]
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - เนื้อไม้ ใช้ทำอุปกรณ์การเกษตรต่างๆ(ปะหล่อง)
เนื้อไม้ ใช้สร้างบ้าน เป็นโครงสร้างต่างๆ ของบ้าน เช่น เสาบ้าน(ปะหล่อง)
- ลำต้นใช้ทำเสาต้นที (เสาไม้ที่ใช้ในพิธีกรรมของชาวกะเหรี่ยงแดง)(กะเหรี่ยงแดง)
- ใบแห้งใช้มุงหลังคา(กะเหรี่ยงแดง)
ใบสด ใช้ห่อข้าว(กะเหรี่ยงแดง)
ใบ ใช้ห่อข้าวและใช้มุงหลังคา(ปะหล่อง)
- ราก น้ำต้มรากกินแก้ตับอักเสบ
ต้น มี oleoresins, ใช้ทาแผลภายนอก , โดยประสมกับมหาหิงคุ์ และน้ำมันมะพร้าวก็ได้
ใบ เถ้าใบกินกับน้ำปูนใน, แก้บิดและถ่ายเป็นมูกเลือด [6]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[6] ลีนา ผู้พัฒนพงศ์, 2530. สมุนไพรไทยตอนที่ 5 . ฝ่ายพฤกษศาสตร์ป่าไม้ กองบำรุง กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง